รวม 10 แผนที่ประเทศไทยสมัยก่อน ชัดๆ เอาไว้ศึกษา

ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แผนที่โบราณของประเทศไทยไม่เพียงแต่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของพรมแดนและภูมิประเทศ แต่ยังเป็นเอกสารสำคัญที่แสดงถึงการเชื่อมโยงทางการค้า การปกครอง และวัฒนธรรมในแต่ละช่วงเวลา สำหรับนักเรียน นักวิจัย และผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ การศึกษาแผนที่เก่าๆ จะช่วยให้เข้าใจถึงความเป็นมาของภูมิภาคและประเทศได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

1. แผนที่ราชอาณาจักรสยาม โดย ปิแอร์ ดูวัล (Pierre Duval) พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686)

แผนที่ราชอาณาจักรสยาม โดย ปิแอร์ ดูวัล (Pierre Duval) พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686)

สงสัยว่าทำไมในปี ค.ศ. 1903 สองพี่น้องตระกูลไรท์เพิ่งสร้างเครื่องบินลำแรกของโลกได้สำเร็จ แต่เมื่อย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1686 นักสำรวจกลับสามารถทำแผนที่ประเทศเราได้อย่างไร? เรื่องนี้น่าสนใจมาก เพราะเทคโนโลยีในยุคนั้นยังไม่มีการบินหรือการถ่ายภาพทางอากาศแบบที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน

การสำรวจและทำแผนที่ในสมัยก่อนอาศัยการเดินทางทางบกและทางน้ำ นักสำรวจจะเดินทางสำรวจทีละส่วนของพื้นที่ โดยใช้เครื่องมือวัดระยะทางและทิศทาง เช่น เข็มทิศและอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่น เซ็กแทนท์ (Sextant) ซึ่งใช้วัดมุมระหว่างวัตถุและขอบฟ้าเพื่อหาพิกัดบนแผนที่

การทำแผนที่ในสมัยนั้นอาจดูคล้ายกับการสำรวจแบบละเอียดทีละจุด เหมือนกับแนวคิดของ Google Maps ที่ค่อยๆ สำรวจพื้นที่ทีละน้อยๆ แต่แตกต่างกันตรงที่ใช้แรงคนและเครื่องมือทางกายภาพมากกว่าจะเป็นภาพถ่ายดาวเทียม นักสำรวจจะบันทึกและวาดแผนที่ตามการสังเกตของพวกเขา โดยอาศัยความสามารถในการคาดคะเนทิศทางและระยะทางระหว่างสถานที่ต่างๆ

2. อาณาจักรธนบุรี
อาณาจักรธนบุรี เป็นอาณาจักรของคนไทยในช่วงเวลาสั้น ๆ

3. แผนที่เมืองไทย “ฉบับแรก” ในสมัยรัชกาลที่ 5

แผนที่เมืองไทยฉบับแรกของนายแม็คคาร์ธี ค.ศ. 1888 พิมพ์ประกอบรายงานการสำรวจของเขาภายใต้การว่าจ้างของรัฐบาลสยาม ใช้เวลาจัดทำนานถึง 6 ปี (ภาพจากไกรฤกษ์ นานา)

4. แผนที่แสดงดินแดนมาลายู

แผนที่แสดงดินแดนมาลายู
(ภาพจากหนังสือ แผนที่ภูมิศาสตร์ : ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย)

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและหัวเมืองมลายูในประวัติศาสตร์

พระพุทธรูปองค์สำคัญที่กล่าวถึงนี้ เดิมถูกนำมาประดิษฐานอยู่ที่พระวิหาร วัดจักรวรรดิราชาวาส ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร แต่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้ทรงพระราชทานพระพุทธรูปองค์นี้คืนไปยังเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ลาว นับตั้งแต่นั้นพระพุทธรูปองค์นี้จึงประดิษฐานอยู่ในพระวิหารในวังของเจ้าเมืองหลวงพระบางในประเทศลาวมาจนถึงปัจจุบัน

หัวเมืองมลายู

หัวเมืองมลายูเคยเป็นประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย หัวเมืองที่มีความสำคัญได้แก่ ปัตตานี ไทรบุรี เประ กลันตัน และตรังกานู ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า หัวเมืองเหล่านี้ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์มีดำริที่จะขยายอำนาจและควบคุมหัวเมืองมลายูอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ในยุคกรุงธนบุรี การฟื้นอำนาจในหัวเมืองมลายูมิได้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงติดต่อกับสุลต่านของไทรบุรีและปัตตานี เพื่อขอยืมเงินซื้ออาวุธเมืองละ 1,000 ชั่ง แต่สุลต่านทั้งสองมิได้ให้การสนับสนุนตามที่ร้องขอ ซึ่งปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์

5. แผนที่ประวัติอาณาเขตไทย แสดงอาณาเขตไทย ต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์

บทความทั้งหมด : https://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=12&chap=10&page=t12-10-infodetail02.html

ภาพอ้างอิง https://saranukromthai.or.th/

6. แผนที่ประวัติอาณาเขตต์ไทย (พ.ศ. 2483)

7. แผนที่จากอังกฤษและฝรั่งเศส ในสมัย รัชกาลที่ 2-3

ที่มา : https://www.blockdit.com/posts/5fa3d29ac6d6c90a96a079d0

8. แผนที่เมื่อครั้งสูญเสียดินแดนครั้งใหญ่ของไทยเมื่อ ร.ศ 112 สมัยรัชกาลที่ 5 ถูกลืมไปนานถึง 50 ปี ก็ถูกกลับมาเรียกร้องคืนสำเร็จ ในสมัย รัชกาลที่ 8

แหล่งที่มา : https://www.facebook.com/photo/?fbid=2330272673810470&set=a.453023761535380

การสูญเสียดินแดนครั้งใหญ่ของไทยเมื่อ ร.ศ 112 สมัยรัชกาลที่ 5 ถูกลืมไปนานถึง 50 ปี ก็ถูกกลับมาเรียกร้องคืนสำเร็จ ในสมัย รัชกาลที่ 8

มูลเหตุหลัก เกิดจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปทำให้ฝรั่งเศสอ่อนแอ เกินกว่าจะเก็บรักษาเมืองขึ้นต่างๆ เอาไว้ได้

คนไทยในยุคนั้น จึงเรียกร้องและได้คืนกลับมา ซึ่งดินแดนที่เคยเสียไป เกิดเป็นแผนที่ฉบับ ” เฉพาะกาล ” ขึ้น แต่ทำไมดินแดนที่ได้คืน ถึงไม่เป็นที่รับรู้ในประวัติศาสตร์ไทยสมัยหลัง ?

อ.ไกรฤกษ์ นานา ตามหาแผนที่เมืองไทย ฉบับได้ดินแดนคืน เมื่อในรัชกาลที่ 8 นำกลับมาพิสูจน์ข้อเท็จจริง ถึงความชอบธรรมในประวัติศาสตร์ ที่ถูกลืม

บทความวิเคราะห์ใหม่ ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือน กุมภาพันธ์ 2566 วางตลาดต้นสัปดาห์หน้าครับ

ภาพประกอบ : แผนที่ประเทศไทย ฉบับได้ดินแดนคืน พ.ศ 2485

9.แผนที่ของไทยหรือที่มีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่น่าจะมีไทย ที่เก่าแก่ที่สุด น่าจะเป็นของโรม ในปี 1497 “Undecima Asiae Tabula” (Southeast Asia, China and India) 

แหล่งที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Golden_Chersonese

10. สมัยพระนารายณ์

แผนที่สยาม (La presqu’isle de l’Inde) ส่วนหนึ่งของแผนที่เอเชียโดยดูวัล ค.ศ. ๑๖๕๖/พ.ศ. ๒๑๙๙

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top